หยุด! เครื่องมือทำลายล้าง ก่อนทะเลไทยจะว่างเปล่า...

1/31/2007

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 13


อวนลากแคระ
อวนลากแคระ(Otter trawl with booms) อวนลากแผ่นตะเฆ่ชนิดที่มีคานถ่าง 1 คู่ ติดอยู่กลางลำเรือ เพื่อใช้แผ่นตะเฆ่กางมากขึ้น ใช้จับกุ้งและปลาหน้าดินบริเวณชายฝั่ง

ลักษณะทำลายล้าง
ตาอวนที่เล็กและการลากที่เร็วทำให้จับสัตว์น้ำไม่แยกประเภท วัยและขนาด การครูดหน้าดินของอวนทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลาหญ้าทะเล ซั้ง ปะการังเทียม ทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 14


อวนลอยสามชั้น
อวนลอยสามชั้น (Trammel net) อวนลอยหน้าดินประกอบด้วยอวน 3 ผืนซ้อนกัน โดยมีตาอวนด้านนอกใหญ่กว่าด้านในใช้จับกุ้งและหมึกกระดอง
ลักษณะการทำลายล้าง
จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด จับปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และอารจทำลายทรัพยากรในน้ำประเภทอื่นได้

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 12


อวนลอยกลางน้ำ
อวนลอยกลางน้ำ(Drift gill net) อวนติดตาที่ใช้จับปลาผิวน้ำชนิดต่างๆ เช่น ปลาอินทรี ปลาโอ ปลาจะระเม็ด ฯลฯ

ระยะเวลาทำการประมง

- ทำได้ตลอดทั้งปี

ลักษณะการทำลายล้าง

- ตาอวนที่เล็กทำให้อวนจับสัตว์น้ำไม่แยกประเภท วัยและขนาด

- การครูดหน้าดินของอวนทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายหญ้าทะเล ซั้ง ปะการังเทียม

1/30/2007

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 11




แหยักษ์
แหยักษ์(Stick - held fallingne) ดัดแปลงจากอวนยกเป็นแหครอบมีสายมานใช้ครอบจับหมึก
ลักษณะการทำลายล้าง
- ตาอวนที่เล็กและทำให้จับสัตว์น้ำไม่แยกประเภท วัย และขนาด

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 10



อวนทับตลิ่ง
อวนทับตลิ่ง (BEACH SEINE) ใช้จับสัตว์น้ำตามชายฝั่ง เช่น ปลากะตัก เคย ฯลฯ โดยลากอวนขึ้นฝั่ง
ลักษณะทำลายล้าง
ตาอวนที่เล็กและการลากที่เร็วทำให้จับสัตว์น้ำไม่แยกประเภท วัยและขนาด การครูดหน้าดินของอวนทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลาหญ้าทะเล ซั้ง ปะการังเทียม ทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น

1/20/2007

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 9



อวนล้อมสมัยใหม่
อวนล้อมสมัยใหม่(Modern purse seine) อวนล้อมจับที่ใช้เรือลำเดียวมีเครื่องกว้านอวนระบบไฮโดรลิคใช้จับปลาผิวน้ำต่างๆ เช่น ปลาโอ ปลาทู ฯลฯ
ลักษณะการทำลายล้าง
- จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด จับปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และอารจทำลายทรัพยากรในน้ำประเภทอื่นได้

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 8




อวนล้อมซั้ง

อวนล้อมซั้ง(Luring purse seine) อวนล้อมจับที่ใช้วิธีล่อปลาให้รวมฝูงโดยซั้ง แล้วจึงลงอวนล้อม ใช้จับปลาผิวน้ำต่างๆเช่นปลาจะระเม็ด ปลาสีกุน ปลาทูแขก ฯลฯ
ลักษณะการทำลายล้าง
- จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด จับปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และอาจทำลายทรัพยากรในน้ำประเภทอื่นได้

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 7


อวนล้อมตังเก
อวนล้อมตังเก(Chinese purse seine) อวนล้อมจับแบบดั้งเดิมใช้แพไฟล่อปลา ปัจจุบันใช้จับปลาตามกองหินแถบทะเลอันดามัน
ลักษณะการทำลายล้าง
- จะจับสัตว์น้ำทุกชนิด จับปลาตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และอาจทำลายทรัพยากรในน้ำประเภทอื่นได้

1/15/2007

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 6


ลอบปลา (FISH TRAP)

ลอบปลา หมายถึง ลอบชนิดที่ใช้จับสัตว์น้ำประเภทปลาเป็นเป้าหมายหลัก ชาวประมงที่ใช้ลอบปลาส่วนใหญ่เป็นชาวประมงพื้นบ้าน จำนวนลอบที่ใช้จะขึ้นอยู่กับชนิดของลอบและทุนทรัพย์ ถ้าเป็นลอบปลาชนิดที่จับขนาดใหญ่ จะใช้ลอบ 15 - 30 ลูก/ราย ถ้าเป็นลอบปลาขนาดเล็ก เช่น ลอบลูกปลากะรัง จะใช้ลอบจำนวนมากตั้งแต่ 30 - 100 ลูก / ราย จำนวนคนที่ใช้ 1 - 5 คนลักษณะของลอบปลาจะมีหลายแบบ มีหลายขนาด และรูปร่างต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ขนาดเรือ กว้าง 1.35 - 1.40 ม. สูง 1.00 - 1.15 ม. ตาข่ายหุ้มโครงลอบตรงส่วนที่เป็นพื้นลอบ อาจใช้เนื้ออวนโพลีเอทธิลีน หรือลวดตาข่ายสำเร็จรูป ขนาดตา 50 - 65 มิลลิเมตร ส่วนที่เป็นงาหรือช่องทางเข้าของสัตว์น้ำ ทำด้วยลวดตาข่ายขนาดเดียวกัน ช่องว่างด้านในระหว่างประมาณ 7 - 10 ซม. โดยโครงลอบใช้ไม้เบญจพรรณที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 - 5 ซม. ส่วนที่เป็นงา หรือหลังคาลอบจะใช้ไม้หวาย หรือไม้ตระกูลเถาวัลย์หรือไม้ไผ่

ตัวอย่างลอบลูกปลากะรัง จะทำประมงในบริเวณคลองน้ำกร่อย ปากแม่น้ำ น้ำลึก 2 - 5 เมตร ส่วนใหญ่วางเป็นแถว ห่างกันประมาณ 20 ม. โดยมีทุ่นบอกตำแหน่งลอบที่ผิวน้ำ และจะออกไปกู้ลอบและเติมเหยื่อในเวลากลางวันทุก ๆ 1 หรือ 4 ชั่วโมง ลอบลูกปลากะรังจะได้ลูกปลาขนาด 3 - 5 นิ้ว เป็นส่วนใหญ่

ลักษณะการทำลายล้าง
ลอบปลาเป็นเครื่องมือที่จับสัตว์น้ำหน้าดินทำให้บางครั้งอาจทำลายปะการัง เเละตาอวนที่ขนาดเล็กก็จะจับสัตว์น้ำได้ไม่เลือกขนิด

1/05/2007

เบ็ดราวหน้าดิน

เบ็ดราวปลากระเบน

เบ็ดราวปลากระเบน บางที่เรียกว่า เบ็ดราวไว หรือเบ็ดราไว
อุปกรณ์
เรือประมง เรือหางยาวขนาด 6-8 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 5-8 แรงม้า
เครื่องมืออวน ตัวเบ็ดเป็นเบ็ดหน้าตรง ดัดเป็นมุมฉากไม่มีเงี่ยง ยาว 5 เซนติเมตร กว้าง 1.5-1.7 เซนติเมตร ความสูงจากปลายแหลมถึงฐานเบ็ด 2.50-4 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตัวเบ็ด 2.5-3 มิลลิเมตร สายเบ็ดทำด้วยโปลีเอทธีลีนขนาด 2 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 40 มิลลิเมตร ตัวเบ็ดผูกกับสายคร่าวเบ็ดห่างกันราว 1-2 ฟุต สายคร่าวเบ็ดทำด้วยเชือกโปลีเอทธีลีนขนาด 4 มิลลิเมตร 1 เส้น ความยาวขึ้นอยู่กับจำนวนตัวเบ็ด มีทุ่นพยุงสายคร่าวผูกไว้เป็นระยะทุกระยะ ตัวเบ็ด 4-6 ตัว ที่ปลายของคร่าวเบ็ดจะมีหินถ่วงน้ำหนักข้างละ 5-10 กิโลกรัม
เบ็ดราว 1 ชุดหรือ 1 ตับมีเบ็ด 310-350 ตัว แต่ละราวใช้เบ็ดประมาณ 2-10 ตับ ในการเก็บเบ็ดจะมีไม้เก็บเบ็ด เพื่อให้เบ็ดแต่ละตัวเรียงกัน ทำด้วยไม้กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 4 ฟุต ตรงกลางผ่าเป็นร่องสำหรับแขวนตัวเบ็ด มีห่วงรัดปลายสุดป้องกันเบ็ดหลุดจากปลายไม้ 1 ห่วง
วิธีทำการประมง จะวางเบ็ดในช่วงเย็นบริเวณใกล้ฝั่ง เมื่อเลือกทำเลได้แล้วจะต่อสายเบ็ดแต่ละชุดไว้ แล้วปล่อยน้ำหนักถ่วงและสายทุ่นด้านหนึ่งลงน้ำก่อน ยื่นไม้เก็บเบ็ดให้พ้นกราบเรือในแนวตั้งฉากแล้วแล่นเรือไปข้างหน้า ตัวเบ็ดจะหลุดจากไม้เก็บเบ็ดไปเรื่อย ๆ ปล่อยเบ็ดไว้จนเช้าจึงกู้เบ็ดเก็บเข้าไม้เก็บเบ็ดตามเดิม พร้อมกับใช้น้ำมันพืชทาตัวเบ็ดป้องกันสนิม การวางเบ็ดจะวางเพียงแถวเดียวในทิศทางขนานหรือตั้งฉากกับแนวชายฝั่ง เบ็ดราวที่วางไว้จะอยู่เรี่ย ๆ กับพื้นทะเล เป็นเบ็ดไม่มีเงี่ยงและไม่ใช้เหยื่อ จับสัตว์น้ำขนาดใหญ่โดยอาศัยจำนวนเบ็ดที่มากและอยู่ใกล้กัน ความคมของตัวเบ็ดจะเกี่ยวติดสัตว์น้ำที่ว่ายผ่านระหว่างตัวเบ็ด
แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึก 4-20 เมตร
จังหวัดที่พบ ชุมพร ปัตตานี ภูเก็ต สตูล ตรัง
ระยะเวลาทำการประมง ทำได้ตลอดปี
ลักษณะการทำลายล้าง
- พบการทำลายล้างในเขตจังหวัดตรัง เพราะพื้นที่วางเบ็ดราวปลากระเบนเป็นบริเวณที่มีปลาพะยูน ปลาโลมา เต่าทะเล จระเข้อยู่ด้วยจึงเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำเหล่านั้น
ชาวบ้านบางแห่งพยายามหาทางออก โดยการเปลี่ยนจากการใช้เบ็ดราวไม่มีเหยื่อ มาเป็นเบ็ดแบบมีเหยื่อแทน ซึ่งจะผู้เบ็ดห่างกันตาละ 1 วา ทำให้ลดการทำลายล้างลงได้

1/04/2007

ภาพเล่าจากทะเล.....ตอน 5


โพงพาง
โพงพาง เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนรูปถุง ปากอวนติดตั้งให้กางรับสัตว์น้ำที่พัดตามกระแสน้ำเข้าถุงอวน ที่พบจากการสำรวจมี 3 แบบ คือ โพงพางหลัก โพงพางปากเสือ และโพงพางปีก
15.1 โพงพางหลัก
โพงพางหลัก เป็นโพงพางที่พบมากที่สุด
อุปกรณ์
เรือประมง เป็นเรือขนาดยาว 10 เมตร เครื่องยนต์ขนาด 5-10 แรงม้า
เครื่องมือประมง อวนเป็นรูปถุงปากกว้าง ปากอวนสูงใกล้เคียงกับความลึกของน้ำช่วงขึ้นสูงสุด ขนาดประมาณ 4x4 หรือ 8x6 เมตร ความยาวจากปากอวนถึงก้นถุง 20-25 เมตร ตัวอวนจะเรียวเล็กลงตามลำดับ ปากอวนจะวางในทิศทางหันรับกับกระแสน้ำ มีไม้หลักขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 6 นิ้ว ยาวมากกว่าความลึกของน้ำ 3-5 เมตร จำนวน 2 ตันต่อโพงพาง 1 ปาก หรือ 3 ตันต่อ 2 ปาก ไม้หลักนี้จะมีสมอค้ำยันด้านหน้าและหลัง ไม้หลักจะปักห่างกันตามขนาดปากอวนคือ ราว 4-8 เมตร ด้านบนมีไม้คาดไว้กันไม้หลักเอนเข้าหากันปากอวนจะมัดกับเสาหลัก ส่วนตัวอวนจะกดไว้ด้วยไม้กดโดยไม่ใช้ทุ่นและตะกั่วถ่วง
เนื้ออวนเป็นโปลีเอทธีลีน อวนบริเวณปากจะมีขนาดตาใหญ่ที่สุดแล้วเล็กลงมาตามลำดับ เช่น 50 30 25 20 และ 10 มิลลิเมตร ส่วนที่เป็นก้นถุงยาว 1.5-3.00 เมตร มักใช้ขนาดตา 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายถุงสามารถเปิดออกได้โดยมัดเชือกไว้ การวางโพงพางจะทำหลายช่องเรียงกันเป็นแถวประมาณ 6-10 ช่อง
วิธีทำการประมง จะไปวางอวนได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ในช่วงน้ำขึ้นเต็มที่หรือลงเต็มที่ โดยประกอบอวนเข้ากับไม้กดอวนแล้วนำไปผูกกับไม้หลัก แล้วจอดเรือไว้ที่ตำแหน่งก้นถุง รอให้กระแสน้ำพัดสัตว์น้ำเข้าอวนสักพักจึงกู้ก้นอวนขึ้นมาเทสัตว์น้ำออก แล้วมัดก้นถุงวางใหม่ต่อไป
แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึกราว 1-6 เมตร
จังหวัดที่พบ สงขลา ตรัง ระนอง สตูล พังงา นครศรีธรรมราช
ระยะเวลาทำการประมง ทำได้ตลอดปี
ลักษณะการทำลายล้าง
- โพงพางจะจับสัตว์น้ำตัวเล็ก สัตว์น้ำวัยอ่อน และจับอย่างไม่แยกประเภท

1/03/2007

อวนลากแผ่นตะเฆ่



อวนลากแผ่นตะเฆ่
อวนลากแผ่นตะเฆ่(Otter trawl) อวนลากชนิดนี้มีแผ่นตะเฆ่ไว้ทำหน้าที่ถ่างปากอวนออกใช้จับสัตว์น้ำหน้าดิน จำพวกปลาและกุ้ง


ลักษณะการทำลายล้าง
- ตาอวนที่เล็กและการลากที่เร็วทำให้จับสัตว์น้ำไม่แยกประเภท วัยและขนาด- การครูดหน้าดินของอวนทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลาหญ้าทะเล ซั้ง ปะการังเทียม- ทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น

1/02/2007

ภาพเล่าจากทะเล...4


คราดหอยลาย

คราดหอยลาย เป็นเครื่องมือประมงที่ใช้คราดมีลักษณะคล้ายตะแกรง และใช้เรือยนต์ลากตะแกรงไปตามผิวดินเพื่อขุดแซะจับหอยลายที่อยู่ใต้ผิวดิน คราดหอยลายถือว่าเป็นเครื่องมือคราดหอยที่ใช้เรือขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเครื่องมือประมงประเภทคราด แต่สามารถใช้เรือเล็กได้เช่นกัน
อุปกรณ์
รือประมง ใช้เรือยาว 6-18 เมตร เครื่องยนต์ 10-250 แรงม้า มักต่อกะบะท้ายเรือยื่นออกไปกว้างประมาณ 1.50-2.00 เมตร ยาวเท่ากับส่วนท้ายของเรือ เพื่อให้มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น ในเรือมักมีแอคโคซาวเดอร์และวิทยุสื่อสาร
เครื่องมือคราด เป็นตะแกรงเหล็กรูปคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าค่อนข้างแบน ด้านหน้าเปิดออกและสูงกว่าด้านท้ายหรือก้นตะแกรง เรือแต่ละลำจะใช้คราด 2 อันและคราดสำรองอีก 1 อัน ขนาดของคราดขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ ถ้าเรือขนาดยาว 14 เมตรขึ้นไปมักใช้ปากคราดยาว 2-3 เมตร กว้าง 1.00-1.30 เมตร สูง 18-20 เซนติเมตร ที่ก้นคราด 10-15 เซนติเมตร โครงคราดเป็นเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร ซี่ตะแกรงเป็นเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร แต่ละซี่ห่างกัน 1 เซนติเมตร ปากคราดด้านล่างเป็นเหล็กแผ่นหนา 3 มิลลิเมตร กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาวเท่ากับปากคราดเชื่อมติดกับโครงด้านล่าง โดยทำให้เฉียงลงราว 30 องศา ที่ขอบปากด้านบนมีโซ่ขนาด 3 มิลลิเมตร ยาว 7 เมตร เป็นสายซุงยึดติดอยู่ สายซุงจะต่อเข้ากับสายลากซึ่งเป็นเชือกขนาด 16 มิลลิเมตรยาว 50 เมตร
วิธีทำการประมง ทำได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เริ่มโดยเมื่อถึงจุดหมายก็จะปล่อยคราดอันแรกลงน้ำ โดยปล่อยสายลากยาวประมาณ 3-5 เท่าของความลึกน้ำ คราดราว 2-5 นาทีด้วยความเร็วเต็มที่แล้วกู้คราดขึ้นมาบนเรือ จากนั้นก็ปล่อยคราดอันที่สองลงไปคราดต่อ ขณะที่เทหอยลายที่ได้จากคราดอันแรกที่กะบะเรือแล้ว กู้คราดอันที่สองพร้อมกับปล่อยคราดอันแรกลงน้ำสลับกันไป หรืออาจลากพร้อมกัน 2 คราดก็ได้
แหล่งทำการประมง ที่ระดับน้ำลึก 3-15 เมตร แหล่งหอยลายมักอยู่บริเวณปากแม่น้ำที่น้ำ 2 กระแสมาพบกัน
จังหวัดที่พบ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช และฝั่งอันดามันทุกจังหวัด
ระยะเวลาทำการประมง ทำได้ทั้งปี แต่เนื่องจากแหล่งหอยลายไม่ได้มีอยู่ทั่วไป และเมื่อคราดหอยจากแหล่งใดมาก ๆ จะฟื้นตัวช้ากว่าสัตว์น้ำประเภทอื่น จึงต้องทิ้งระยะเวลาพอสมควร
ลักษณะการทำลายล้าง
- การครูดหน้าดินของคราดทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำลายหญ้าทะเล ซั้ง ปะการังเทียม
- ทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น
- การทำประมงหอยลายจะฟื้นตัวช้ากว่าสัตว์น้ำทั่วไป