หยุด! เครื่องมือทำลายล้าง ก่อนทะเลไทยจะว่างเปล่า...

2/04/2007

การระเบิดปลา


การระเบิดปลา

การระเบิดปลาเป็นปัญหาที่สำคัญมาก โดยเฉพาะตามแนวปะการัง แนวหินใต้น้ำ ซึ่งมีสีสันสวยงามของบรรดาสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง การทำระเบิดไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพรานระเบิดปลา อีกทั้งวัสดุที่ใช้ทำระเบิดก็หาได้ง่าย เช่น ปุ๋ยยูเรีย น้ำมันเบนซิน สายชนวน ซึ่งมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไป การแก้ปัญหาโดยการควบคุมวัตถุระเบิดจึงเป็นเรื่องยาก
การใช้ระเบิดเป็นการทำประมงที่มีการลักลอบทำมานานแล้ว แต่ไม่แพร่หลาย จากการสำรวจพบว่ามีเพียงบางพื้นที่ในด้านฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้นที่เริ่มทำกันมากในช่วง 3-4 ปีมานี้ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดตรัง
อุปกรณ์
เรือประมง ปกติจะใช้เรือหางยาวลำเดียว แต่ในเขตที่ทำกันเป็นขบวนการจะใช้เรือ 2-4 ลำ โดยลำแรกจะเป็นเรือเร็วทำหน้าที่หย่อนระเบิด แล้วขับเรือหนีไป เรือที่เหลือจะทำทีว่ามาพบโดยบังเอิญ และมาดำเอาปลาจากที่ลำแรกระเบิดไว้ไปเพื่อเลี่ยงกฎหมาย เรือที่ใช้เก็บปลาเป็นเรือหางยาว 5-8 วา เครื่องยนต์ 5-10 แรงม้า บางครั้งเป็นเรือขนาดใหญ่กว่านี้
เครื่องมือประมง ชาวบ้านจะซื้อวัสดุอุปกรณ์มาประกอบเป็นระเบิดเอง คือ
- ดินระเบิด
- แอมโมเนียมไนเตรท
- สายชนวน
- น้ำมันเบนซินหรือโซลา
- ภาชนะบรรจุ ซึ่งอาจใช้ใหญ่หรือเล็กตามความต้องการที่จะให้แรงขนาดไหน เช่น ถังน้ำดื่มแบบพลาสติก ปี๊บน้ำมันก๊าด แกลลอน พลาสติกขนาด 2 หรือ 5 ลิตร ไหดินเผา เป็นต้น
- ครั่ง
- ไม้ขีดไฟ
- อุปกรณ์การดำน้ำแบบสูบลม
การทำระเบิด จะนำดินระเบิด แอมโมเนียมไนเตรท และน้ำมันตามอัตราส่วนใส่ลงในภาชนะ เสียบสายชนวนให้มีความยาวตามแต่จะให้ระเบิดที่ผิวน้ำ กลางน้ำ หรือท้องทะเล แล้วใช้ครั่งอุดปากไว้ให้แน่น
วิธีทำการประมง จะทำในช่วงน้ำตายคือ ประมาณช่วงแรม 5-12 ค่ำ และขึ้น 5-12 ค่ำ ซึ่งน้ำไม่ขึ้นลงนัก เริ่มด้วยการสำรวจดูฝูงปลาโดยดำลงไปดูเพื่อคำนวณดูจำนวนปลา และคำนวณรายได้ตอบแทน เมื่อเลือกได้แล้วจะให้เรือลำที่ทำหน้าที่หย่อนระเบิดขับเรือไปจุดสายชนวนแล้วโยนลงน้ำ แล้วรีบขับเรือหนีแรงระเบิดประมาณ 500 เมตร แล้วหนีไป เรือลำอื่นก็จะเข้ามาเก็บปลาใส่เรือ
แหล่งทำการประมง บริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ หรือหินกอง บริเวณปะการังเทียม
จังหวัดที่พบ นราธิวาส ระนอง สตูล ตรัง โดยเฉพาะแถวเกาะลิบง
ระยะเวลาทำการประมง ช่วงน้ำตายราวแรม 5 ค่ำ ถึงขึ้น 12 ค่ำ ทำได้ตลอดปี
ลักษณะการทำลายล้าง
- พบว่าบริเวณที่มีปัญหาระเบิดปลารุนแรงเพิ่งทำกันมาก 4-5 ปีมานี้ ในช่วงที่ทรัพยากรทางทะเลมีน้อยลง การระเบิดจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำทุกชนิด ทุกวัย ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ปะการัง พืชใต้น้ำ ปลาที่ตายจำนวนมากไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ชาวบ้านประเมินว่าปลาที่ถูกระเบิดสามารถนำมาได้เพียง 1 ใน 4 เท่านั้น คุณภาพของปลาที่ได้ก็ต่ำ เน่าเสียง่าย

No comments: